การค้าผ่านแดน Cross Border

    การค้าผ่านแดน Cross Border

  การค้าผ่านแดน หรือ การปฏิบัติพิธีการผ่านแดน ซึ่ง หมายถึงการที่ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันยินยอมให้มี การขนส่งสินค้าผ่านอาณาเขตของตนเพื่อส่งออกต่อไป ประเทศที่สาม โดยไม่มีการเรียกเก็บอากรสำหรับสินค้า ที่นำผ่านแดนเข้าในอาณาเขตของตนแต่อย่างใดเพราะว่า โดยปกติแล้ว ประเทศทั้งสองจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับการ ดำเนินการดังกล่าว เพื่อประโยชน์ซึ่งกันและ กัน ตามความ สัมพันธ์ของแต่ละประเทศ ซึ่งการได้รับสิทธิผ่านดินแดน ดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขข้อกำหนด ของประเทศ ที่ยินยอมให้มีการนำสินค้าผ่านแดนเพื่อ ส่งออกต่อไป  ภายใต้กรอบขอบ เขตอธิปไตยของประเทศ นั้นๆ เช่น


   กรณีที่การขนส่งสินค้าจากประเทศไทยผ่าน ไปลงเรือที่มาเลเซีย หรือสิงคโปร์  มีขั้นตอนในการดำเนิน การในฝั่งประเทศไทยดังต่อไปนี้


   1.จัดใบขนสินค้าออก


   2.จัดทำใบบัญชีสินค้า


   3.จัดทำบัญชีสินค้า(ศ.บ.3)


  4.ผ่านพิธีการศุลกากร


  5.ตรวจปล่อยสินค้าผูกดวงตราศุลกากร


  6.รับบรรทุกการส่งออกนอกราชอาณาจักรไทย


  7.ส่งมอบสำเนาเอกสารการตรวจปล่อยให้กับผู้ขน ส่งเพื่อไปดำเนินการนำเข้าผ่านแดนต่อไป


  การดำเนินในการนำเข้าเพื่อผ่านแดนเข้าประเทศมาเลเชีย เพื่อส่งออกที่ท่าเรือประเทศมาเลเชีย หรือผ่านต่อไป ส่งออกที่ประเทศสิงคโปร์ จะต้องดำเนินตามเงื่อนไขของ ประเทศที่สินค้าต้องผ่านแดนกำหนด โดยตามเงื่อนไขของ ประเทศมาเลเชียกำหนดดังนี้


  1. จะต้องจัดทำใบสินค้านำเข้าผ่านแดนตามแบบฟอร์มหมายเลข 8 (APPLICATION/PERMIT TO TRANSHIP /REMOVEGOODS) พร้อมยื่นเอกสารการส่งออกที่ได้ผ่านศุลกากรไทยเป็นเอกสารประกอบ โดยที่ใน เอกสารจะต้องมีการสำแดงท่าปลายทางที่จะทำการส่งออ

  2. จะต้องขนส่งด้วยระบบคอนเทนเนอร์ หรือรถ ตู้ทึบ (VAN CLOSED) เท่านั้น


  3. กรณีที่คอนเทนเนอร์กับคัชซีไม่ติดจะต้องทำ  การต่ดเวื่อมให้ติดกัน  


  4. จะต้องขนส่งตามเส้นทางที่ทางประเทศมาเลเซียกำหนด


  5. รถขนส่งจะต้องเป็นรถที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น


  หลักกฏหมายศุลกากรที่ควรทราบในการนำเข้าส่งออก ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469


  การส่งออก


  มาตรา 45บัญญัติว่า “ก่อนการส่งของใดๆออกนอก ราชอาณาจักร ผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พระราชบัญญัตินี้ และตามกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กับกรมศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และ เสียภาษีอากรจนครบถ้วน หรือวางเงินไว้เป็นประกัน การ ขอวางเงินประกันให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด


  ในกรณีที่มีการร้องขอและอธิบดีเห็นว่าของใดมีความจำเป็นที่ จะต้องส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยรีบด่วน อธิบดีมี อำนาจให้ส่งของนั้นออกไปได้โดยยังไม่ต้องปฏิบัติ ตาม วรรคหนึ่งก่อน แต่ต้อองปฏิบัติตามอธิบดีกำหนด และใน กรณีที่อาจจะต้องเสียภาษีอากร ให้วางเงินหรือหลัก ประกันอย่างอื่นเป็นที่พอใจอธิบดีเพื่อเป็นประกันค่าภาษี อากรด้วย ”


  การนำเข้า


  มาตรา 40 บัญญัคิว่า  “ก่อนจะนำขอใดๆไปจากอารักขา ศุลกากร ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราช บัญญัตินี้ และตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร กับ ต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียภาษีอากรจนครบ ถ้วน หรือวางเงินไว้เป็นประกัน การขอวางเงินประกันให้ เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด


   ในกรณีที่มีการร้องขอและอธิบดีเห็นว่าของใดมีความจำเป็นที่ จะต้องนำออกนอกอารักขาศุลกากรโดยรีบด่วน อธิบดีมี อำนาจให้นำของนั้นไปจากอารักขาศุลกากรได้โดยยังไม่ ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่งก่อน แต่ต้อองปฏิบัติตามอธิบดี กำหนด และในกรณีที่อาจจะต้องเสียภาษีอากร ให้วาง เงินหรือหลัก ประกันอย่างอื่นเป็นที่พอใจอธิบดีเพื่อเป็น ประกันค่าภาษี อากรด้วย ”


  การเสียภาษี


  มาตรา 10 บัญญัติว่า “บรรดาค่าภาษีนั้น ให้เก็บตามพระราช บัญญัตินี้และตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราอากร การเสียภาษี อากรให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้


         .......................................................................”


  มาตรา 10 ทวิบัญญัติว่า “ความรับผิดในอันที่ต้องเสีย ภาษีสำหรับ ของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ


        ......................................................................”


  มาตรา 10ตรีบัญญัติว่า “ความรับในอันจะต้องเสีย ภาษีสำหรับของที่ส่งออกเกิดในเวลาที่ส่งของออกสำเร็จ


  การคำนวณค่าภาษีให้ถือตามสภาพของราคาของ และพิกัด อัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้


       .......................................................................”


  ท่านำเข้า-ส่งออก


  มาตรา 4 บัญญัติว่า “เพื่อความประสงค์แห่งการนำของเข้า หรือส่งของออก หรือนำของเข้าและส่งของออกและการ ศุลกากร ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง


  (1) กำหนดท่า หรือที่ใดๆในราชอาณาจักรให้เป็นท่าหรือที่ สำหรับการนำเข้าหรือส่งออก หรือนำเข้าและส่งออกซึ่งของ ประเภทใดๆ หรือทุกประเภททางทะเล หรือทางบก หรือให้เป็น ท่าหรือที่สำหรับการส่งออกซึ่งของที่ขอคืนอากรขาเข้า หรือของ ที่ทัณฑ์บน ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขตามแต่จะเห็นสมควร


  (2) กำหนดสนามบินใดๆในราชอาณาจักรให้เป็นสนามบิน ศุลกากร โดยมีเงื่อนตามแต่จะเห็นสมควร


  (3) ระบุเขตศุลกากร ณ ท่าใด หรือที่ใด หรือสนามบินใดซึ่งได้ กำหนดไว้ข้างต้น ”