การขนส่งทางทะเล Sea freight

  การขนส่งสินค้าทางทะเล (Sea Freight)

  การขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นส่วนประกอบที่สําคัญส่วนหนึ่งของ ระบบการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต เพราะเป็นเพียงการขนส่งชนิดเดียวที่ขนสินค้าได้คราวละมากๆ และค่าระวางมีราคา

ถูกกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ การขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทยเป็นการขนส่งทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นการขนส่งสินค้าทางทะเลจึงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้า

ในตลาดโลก ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนําเข้าและส่งออกสินค้าจึงควรจะศึกษาและทําความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่สําคัญเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ดังนี้คือ

 

  ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล

  ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ได้แก่

  - เจ้าของเรือ (Ship Owner)

  - ผู้เช่าเรือ (Ship Charterer)

  - ตัวแทนสายเดินเรือ และตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Shipping Agent & Freight Forwarder)

  - ผู้ส่งสินค้า (Shipper or Exporter)

  - ผู้รับตราส่ง (Consignee)

  - ผู้รับสินค้า (Notify Party)

  ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือได้แก่

  1. บริษัทเรือหรือตัวแทนสายเดินเรือ

  2. Sea Freight Forwarder

 

  บทบาทและหน้าที่ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเล มีดังนี้

   A. ตัวแทนสายเดินเรือ (Ship Agent) ตัวแทนสายเดินเรือคือผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าของเรือให้เป็นผู้ดําเนินการแทนเจ้าของเรือ ณ.เมืองท่าต้นทางและเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือมีหน้าที่โดยทั่วไป 

ดังต่อไปนี้

  - จัดหาระวางบรรทุกให้แก่ผู้นําเข้าและผู้ส่งออก

  - ออกใบตราส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก

  - ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้นําเข้า

 

  B. Freight Forwarder

  Freight Forwarder  คือ ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ  Freight Forwarder อาจทําหน้าที่ หลายอย่าง เช่น บางรายทําหน้าที่เป็นตัวแทนในการจัดหาและจัดการขนส่งสินค้าของผู้ส่งออกไปยัง

เมืองท่าปลายทางบางรายทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสินค้ากับผู้รับขนส่งสินค้า บางรายอาจทํา หน้าที่เป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ (Multimodal

Transport Operator) หรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่เจ้าของเรือ (Non-Vessel Operating Common Carrier (NVOCC))Freight

Forwarder มี 2 ประเภท ได้แก่

  1. Sea Freight Forwarder

  2. Air Freight Forwarder

  ตารางเดินเรือ (Shipping Schedule)

  ตารางเดินเรือมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อการนําเข้าและส่งออก เพราะมีผลโดยตรงต่อการส่งมอบสินค้า

  ดังนั้นผู้นําเข้าและผู้ส่งออกจึงจําเป็นจะต้องทราบตารางเดินเรือเพื่อที่จะกําหนดระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าหรือให้ทันต่อความต้องการของสายการผลิตในกรณีที่เป็นการนําเข้า หรือ

กําหนดระยะเวลาในการผลิตหรือรวบรวมสินค้าเพื่อให้ทันต่อเที่ยวเรือที่จะส่งออกก่อนที่ L/C หรือคําสั่งซื้อจะหมดอายุ